TEXT_SIZE
Thai Arabic Chinese (Traditional) English Filipino French Japanese Spanish Vietnamese

การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล อบต.จอมประทัด

การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล

การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล

การปฏิบัติงาน โดยใช้หลักธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาล  (อังกฤษ: good governance)  คือ  การปกครอง
การบริหาร    การจัดการ การควบคุมดูแลให้เป็นไปในครรลองธรรม   นอกจากนี้ยังหมายถึง การบริหารจัดการที่ดี  ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมี และพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ
ความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้  การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น ธรรมาภิบาลเป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่าง
แพร่หลาย ด้วยเหตุเพราะช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ ยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เป็นต้น
 

องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล
           หลักธรรมาภิบาล การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หมายถึง ขบวนการ หรือขั้นตอนในการทำงานหรือกิจกรรมใด ๆ ที่จัดขึ้นในหน่วยงาน โดยเริ่มต้นจากงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบของแต่ละคน งานที่ได้รับคำสั่งให้ทำ หรืองานที่ร่วมกันทำ จะต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล 6 หลัก คือ

          1. หลักนิติธรรม คือ  เคารพและปฏิบัติตามกฎ กติกา ระเบียบ แบบแผนและกฎหมายต่าง ๆ โดยไม่ละเมิดอย่างตั้งใจ หรือจงใจหลีกเลี่ยง หรือไม่ตั้งใจเพราะไม่รู้  โดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมฉะนั้น ถ้าไม่แน่ใจต้องศึกษาก่อนว่าจะผิดหลักนิติธรรม ก่อนที่จะทำลงไปหรือไม่
วัตถุประสงค์
1.  เผยแพร่ความรู้เรื่องกฎ ระเบียบของหน่วยงาน แก่ผู้รับบริการและประชาชน
      ทั่วไป
2.   สร้างจิตสำนึกแก่ข้าราชการของหน่วยงานในการใช้กฎ ระเบียบด้วยความ
       เป็นธรรม
3.  ทบทวน ปรับปรุง กฎ ระเบียบ และกระบวนการ การดำเนินการให้เป็นธรรม
      และทันกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

          2. หลักคุณธรรม คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยการรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริตความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย ทั้งนี้ หลักคุณธรรม มีหลายแง่มุม เช่น
                   - เมตตาธรรม หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข
                   - จริยธรรม หมายถึง ทำอะไรก็ให้ถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอน
                   - กตัญญู กตเวทิตา หมายถึง การรู้จักบุญคุณ และคิดจะตอบแทน
                   - หิริโอปตัปปะ หมายถึง การรู้จักอดทน การรู้จักละอาย และเกรงกลัว
                                                                บาปกรรมไม่ดี
โดยที่ได้กล่าวมานี้ การมีคุณธรรม จะช่วยยกคุณค่าความเป็นมนุษย์ให้สูงขึ้น เป็นที่ยกย่องของคนทั่วไป
วัตถุประสงค์
1.       กำหนดจรรณยาบรรณของหน่วยงานและของข้าราชการ
2.       จัดให้มีระบบการร้องเรียนในการให้บริหารของหน่วยงาน
3.       รณรงค์ให้มีการใช้หลักคุณธรรมอย่างกว้างขวางและจริงจังในทุกระดับ
        จากระดับบริหาร จนถึงระดับผู้ปฏิบัติตามทุกคน
4.     จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความมีคุณธรรมของหน่วยงาน ตลอดจนประชาสัมพันธ์
       ผ่านสื่อต่าง ๆ ของหน่วยงานเพื่อสร้างจิตสำนึกในเรื่องนี้
5.      สร้างระบบเครือข่ายการส่งเสริมหลักคุณธรรมระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และ
       กลุ่มต่าง ๆ ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

 3. หลักความโปร่งใส ศทก. มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์
อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องรวดเร็วไม่บิดเบือน
วัตถุประสงค์
1.    สำรวจความเห็นของผู้เกี่ยวข้องในภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาชน
      เกี่ยวกับความโปร่งใสที่ประชาชยนต้องการ จากการที่ได้รับจากหน่วยงาน
2.    สร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติงานอย่างโปร่งใส สร้างวัฒนธรรมใหม่ใน
      การทำงาน
3.    กระตุ้นและผลักดันให้ข้าราชการของหน่วยงานปฏิบัติตาม พรบ. ข้อมูล
     ข่าวสาร และมีระบบให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้
4.   ปรับปรุงระบบสารสนเทศและระบบการจัดเก็บเอกสาร ให้สะดวกต่อการ
     สืบค้น และเผยแพร่แก่ประชาชน
5.  จัดทำประกาศและคู่มือการขอรับบริการสำหรับประชาชน โดยระบุขั้นตอน    
      และระยะเวลาการให้บริการที่ชัดเจน
6.   มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล รับฟังความคิดเห็นจากบุคคล
     ภายนอก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไป

     4. หลักการมีส่วนร่วม  คือ พึงระลึกไว้ว่าตัวเองเป็นข้าราชการขององค์กร    นอกเหนือจากงานในหน้าที่แล้ว กิจกรรมอื่นที่มีผลดีต่อองค์กร จะต้องร่วมมือ ร่วมใจทำงานร่วมกันให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  อะไรที่ไม่ดีต้องทักท้วงหา     แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง โดยการทำให้ศทก. เป็นหน่วยงานที่ข้าราชการ
หน่วยงานอื่น และประชาชน มีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจ โดยศทก. ได้เปิดโอกาสให้ข้าราชการและประชาชนมีช่องทาง   ในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การแจ้งความเห็นในเว็บไซต์ ของ ศทก.หรือแจ้งความคิดเห็นลงในตู้แดงหน้าหน่วยงาน ศทก.
วัตถุประสงค์
1.       ปรับปรุงกฎ ระเบียบ และกลไกการให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม
2.       การกระจายอำนาจการบริหารงานในหน่วยงาน เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม
       ของประชาชน
3.       รณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกเรื่องการมีส่วนร่วมแก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน
4.       สร้างหลักประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้มีส่วนร่วม

          5. หลักความรับผิดชอบ  ต่องานที่ทำเอง ทำโดยกลุ่ม ทำในนามของหน่วยงาน  ถ้าดีอยู่แล้วต้องทำให้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น  ถ้าผิดพลาดบกพร่องต้องร่วมมือร่วมใจช่วยกันแก้ไข ไม่วางเฉยโดยถือว่าไม่ใช่เป็นงานของตัวเอง เพราะงานทุกอย่างที่ทำในหน่วยงาน ถือว่าทุกคนมีส่วนร่วมที่จะต้องร่วมมือร่วมใจกันรับผิดชอบงานที่ทำออกไป ซึ่งงานบางส่วนเป็นงานที่ทำออกไปในนามของหน่วยงาน ไม่ใช่ในนามของกลุ่มแต่ละกลุ่ม  ทั้งนี้ หน่วยงานต้องมุ่งให้บริการแก่ผู้มารับบริการ และอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่ผู้ที่มารับบริการ และมีความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบอยู่ และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที
วัตถุประสงค์
1.      ผู้บังคับบัญชาต้องเป็นแบบอย่างที่ดี มีมาตรฐานหรือข้อกำกับความประพฤติ
       นักบริหาร
2.     สร้างความสำนึกเรื่องความรับผิดชอบของตนเอง (self-accountability) เช่น
      ใช้การมีส่วนร่วมระบบการตรวจสอบ ระบบประเมินผลแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
3.   ส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถ โดยใช้ระบบการให้รางวัล และระบบจูงใจ
      อื่น ๆ

          6. หลักความคุ้มค่า ในแง่ของรูปธรรมและนามธรรม ที่สัมผัสจับต้องมองเห็นได้ หรือรู้สึกได้ว่าคุ้มค่าหรือไม่คุ้มค่า ถ้าทำตามหลักข้างต้นทั้ง 5 มาครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงหลักความคุ้มค่าแล้วไม่ผ่าน ก็ควรทบทวนปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อผลงานให้มากที่สุด
วัตถุประสงค์
1.       สร้างจิตสำนึกแก่ข้าราชการของหน่วยงานในการประหยัดการใช้ทรัพยากร 2.       ลดขั้นตอนการให้บริการ/การทำงาน
3.       ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุน/เพิ่มผลผลิต
4.       กำหนดเป้าหมาย และมาตรฐานการทำงาน
5.       มีระบบการติดตามประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบความคุ้มทุน ในการดำเนินการ
       เรื่องต่าง ๆ
6.       มีระบบการรายงานผลที่สอดคล้องกับระบบการประเมินผล
7.     ใช้เทคนิคการบริหารงานแบบใหม่สำหรับบางงาน ที่หน่วยงานไม่ต้องทำเอง 
       เช่น การจ้าง เหมา รปภ., พนักงานทำความสะอาด เป็นต้น

 


  


 


องค์การบริหารส่วนตำบลจอมประทัด
129 หมู่ 3 ต.จอมประทัด อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี  70170
โทร : 0-3274-7281,  โทรสาร 0-3274-7282
E-mail :  jompratud@gmail.com

เว็บไซต์ อบต.จอมประทัด      :  www.jompratud.go.th

Facebook อบต.จอมประทัด  :  www.facebook.com/jompratud

งานประชาสัมพันธ์ : 0-3274-7281 ต่อ 101
สำนักปลัด : 0-3274-7281 ต่อ  106

กองคลัง : 0-3274-7281 ต่อ 108


กองช่าง : 0-3274-7281 ต่อ 107
กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม : 0-3274-7281 







 

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

ลิขสิทธิ์ © 2555 - 2566 องค์การบริหารส่วนตำบลจอมประทัด จังหวัดราชบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.